การจดทะเบียนห้างหุ้นส่วนจำกัด




ตัวอย่างจดทะเบียนบริษัทจำกัด

จดทะเบียนบริษัทจำกัด

ข้อมูลที่ต้องใช้ในการจดทะเบียนบริษัทจำกัด 
 ผู้ขอจดทะเบียนต้องเตรียมข้อมูลดังต่อไปนี้ เพื่อกรอกในคำขอและเอกสารประกอบการจดทะเบียน คือ

1.    ข้อบังคับ (ถ้ามี)

2.    จำนวนทุน (ค่าหุ้น) ที่ชำระแล้ว

3.    ชื่อ ที่อยู่ อายุของกรรมการบริษัท

4.    รายชื่อกรรมการที่มีอำนาจลงชื่อแทนบริษัท

5.    ชื่อ เลขทะเบียนผู้สอบบัญชีบริษัทและค่าจ้าง

6.    ชื่อ ที่อยู่ สัญชาติ จำนวนหุ้นของผู้ถือหุ้นแต่ละคน

7.    ดวงตราสำคัญของบริษัท

การลงลายมือชื่อในคำขอจดทะเบียน

การลงลายมือชื่อในคำขอจดทะเบียนตั้งบริษัท กรรมการทุกคนจะต้องลงลายมือชื่อด้วยตนเอง
โดยเฉพาะกรรมการผู้ขอจดทะเบียนจะต้องลงลายมือชื่อในคำขอจดทะเบียนต่อหน้านายทะเบียน
พร้อมแสดงบัตรประจำตัวหรือลงลายมือชื่อต่อหน้าพนักงานฝ่ายปกครอง ตำรวจชั้นผู้ใหญ่ในท้องถิ่น
ที่ผู้ลงลายมือชื่อมีภูมิลำเนา หรือสามัญสมาชิกหรือสมาชิกวิสามัญแห่งเนติบัณฑิตยสภาก็ได้

วิธีการจดทะเบียน
การจดทะเบียนแบ่งออกเป็น 6 ขั้นตอน คือ
(1) จัดทำคำขอจดทะเบียนตั้งบริษัทและเอกสารประกอบการจดทะเบียนยื่นต่อนายทะเบียน เพื่อให้ ตรวจพิจารณา ภายในสามเดือนนับแต่วันประชุมตั้งบริษัท
(2) แก้ไขข้อบกพร่องในคำขอตามคำสั่งของนายทะเบียนให้ถูกต้องครบถ้วน
(3) รับใบสั่งชำระค่าธรรมเนียมการจดทะเบียน
(4) ชำระค่าธรรมเนียมตามใบสั่งของเจ้าหน้าที
(5) ถ้าประสงค์จะได้หนังสือรับรองรายการในทะเบียน และ/หรือสำเนาเอกสาร ให้ยื่นคำขอและ
ชำระค่าธรรมเนียมต่อเจ้าหน้าที่
(6) รับใบสำคัญแสดงการจดทะเบียน/หนังสือรับรองรายการในทะเบียน/สำเนาเอกสาร
ค่าธรรมเนียม
ค่าธรรมเนียมเกี่ยวกับการจดทะเบียนตั้งบริษัทนี้ ผู้ขอจดทะเบียนจะต้องชำระค่าธรรมเนียมตามอัตรา ที่กฎหมายกำหนด ดังนี้
การจดทะเบียนตั้งบริษัทจำกัด ทุกจำนวนเงินไม่เกิน
100,000 บาท แห่งจำนวนทุนที่กำหนดไว้ 500 บาท
เศษของ 100,000 บาท ให้คิดเป็น 100,000 บาท
ทั้งนี้รวมกันไม่ให้ต่ำกว่า 5,000 บาท
และไม่ให้เกิน 250,000 บาท
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียนฉบับละ 50 บาท
หนังสือรับรองเรื่องละ 20 บาท
รับรองสำเนาเอกสารหน้าละ 50 บาท
หน้าที่ของบริษัท
(1) บริษัทจำกัด ต้องทำบัญชีงบดุลอย่างน้อยครั้งหนึ่งทุกรอบสิบสองเดือน โดยมีผู้สอบบัญชี อย่างน้อยหนึ่งคนตรวจสอบ แล้วนำเสนอที่ประชุมใหญ่สามัญผู้ถือหุ้น อนุมัติงบดุลภายใน 4 เดือน
นับแต่วันปิดบัญชีพร้อมทั้งนำงบดุลและบัญชี กำไรขาดทุนยื่นต่อสำนักบริการข้อมูลธุรกิจ กรมทะเบียน การค้า หรือที่สำนักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทจังหวัด ภายใน 1 เดือน นับตั้งแต่วันอนุมัติงบดุลทั้งนี้รวมถึงบริษัทที่แม้ว่าจะยังมิได้ประกอบ กิจการก็ตาม จะต้องดำเนินการนำส่งงบดุลด้วย มิฉะนั้นมีความผิดต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าหมื่นบาท
(2) จัดทำบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้น ณ วันที่ที่ประชุมใหญ่สามัญผู้ถือหุ้นและให้นำส่งต่อสำนักงาน
ทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทกรุงเทพมหานคร หรือที่สำนักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทจังหวัดแล้วแต่กรณี ภายใน 14 วัน นับจากวันที่ประชุม
ตัวอย่างการทำคำขอจดทะเบียนตั้งบริษัท
คำขอจด ทะเบียนและเอกสารประกอบที่ต้องใช้ในการจดทะเบียนตั้งบริษัท ปรากฏรายละเอียดใน ตารางตามประเภทของการจดทะเบียนพร้อมกับตัวอย่างดังต่อไปนี้
รายละเอียดคำขอจดทะเบียนและเอกสารประกอบคำขอจดทะเบียนตามประเภทของการจดทะเบียนแนบท้าย
ระเบียบสำนักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทกลาง ว่าด้วยการจดทะเบียนห้างหุ้นส่วนและบริษัท พ.ศ. 2538
ลำดับที่
ประเภทการจดทะเบียน
คำขอ
รายการ
เอกสารประกอบรายการ
เอกสารประกอบคำขอจดทะเบียน
2
ตั้งบริษัท
แบบ บอจ.1
แบบ บอจ.3
แบบ ว.
  1. แบบ บอจ.5
  2. สำเนาหนังสือนัดประชุมตั้งบริษัท
  3. สำเนารายงานการประชุมตั้งบริษัท
  4. สำเนาข้อบังคับ (ถ้ามี)
  5. หลักฐานการชำระค่าหุ้นของบริษัท อย่างใด
    อย่างหนึ่ง ดังต่อไปนี้
    (1) เอกสารที่ทางธนาคารออกให้ เพื่อรับรอง
    หรือแสดงฐานะการเงินของบริษัท หรือ
    (2) ใบสำคัญแสดงการรับชำระค่าหุ้นของบริษัท
    หรือ
    (3) หนังสือยืนยันการรับชำระค่าหุ้นและ
    การเก็บรักษาค่าหุ้นของบริษัท
  6. หนังสือบริคณห์สนธิฉบับตีพิมพ์ จำนวน 2 ฉบับ (ภูมิภาคใช้ 3 ฉบับ)
  7. ข้อบังคับฉบับตีพิมพ์ จำนวน 2 ฉบับ (ภูมิภาคใช้ 3 ฉบับ)
  8. สำเนาบัตรประจำตัว ของกรรมการ ที่ลงชื่อในคำขอ จดทะเบียน
  9. สำเนาบัตรทนายความ หรือหลักฐานการเป็นสมาชิก เนติบัณฑิตยสภา ของผู้รับรองลายมือชื่อ (ถ้ามี)
  10. แบบ สสช. 1 จำนวน 2 ฉบับ (ภูมิภาคใช้ 3 ฉบับ)(10) หนังสือมอบอำนาจ (ถ้ามี)

หมายเหตุ สำเนาเอกสารที่ผู้ขอจดทะเบียนยื่นต่อนายทะเบียนนั้นจะต้องให้ผู้ขอจดทะเบียน (กรรมการ) อย่างน้อย
หนึ่งคน ลงลายมือชื่อรับรองความถูกต้อง เว้นแต่สำเนาบัตรทนายความ หรือ หลักฐานการเป็นสมาชิก
เนติบัณฑิตยสภา จะให้ทนายความหรือสมาชิกเนติบัณฑิตยสภานั้น หรือผู้ขอจดทะเบียน (กรรมการ)
อย่างน้อยหนึ่งคนเป็นผู้ลงลายมือชื่อรับรองความถูกต้องได้


คำแนะนำการปฏิบัติให้ถูกต้องตามกฎหมาย
บริษัทจำกัด



  1. ป้ายชื่อ ดวงตรา และเอกสารของบริษัทฯ จะต้องมีคำว่า บริษัทไว้หน้าชื่อและคำว่า จำกัดไว้ท้ายชื่อ และให้มีป้ายชื่อไว้ ณ สถานที่ตั้งสำนักงานแห่งใหญ่ และหากเป็นที่ตั้งสำนักงานสาขาก็ต้องจัดให้มีป้ายชื่อไว้เช่นเดียวกัน โดยระบุว่าเป็น สาขาไว้เช่นเดียวกัน
  2. แสดงใบสำคัญการจดทะเบียน ไว้ ณ สำนักงานแห่งใหญ่ ในลักษณะที่เห็นได้ง่ายและชัดเจน
  3. จัดทำใบหุ้นมอบให้แก่ผู้ถือหุ้น มีข้อความที่ถูกต้องตามที่กฎหมายกำหนด
  4. จัดทำสมุดทะเบียนผู้ถือหุ้นเก็บไว้ ณ สำนักงานแห่งใหญ่ ตามที่จดทะเบียนไว้ และลงรายการในสมุดทะเบียนผู้ถือหุ้นตามที่กฎหมายกำหนด
  5. จัดให้มีการประชุมผู้ถือหุ้นภายใน 6 เดือน นับแต่ได้จดทะเบียนจัดตั้งบริษัท ฯ และต่อไปให้มีการประชุมอย่างน้อย 1 ครั้งในทุกระยะ 12 เดือน
  6. จดบันทึกรายงานการประชุม และข้อมติทั้งหมดของที่ประชุมผู้ถือหุ้น และของที่ประชุมกรรมการให้ถูกต้อง และเก็บไว้ ณ สำนักงานของบริษัทที่ได้จดทะเบียนไว้
  7. จัดทำสำเนาบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้น ณ วันประชุมผู้ถือหุ้น (อนุมัติงบดุล) ส่งต่อนายทะเบียนภายใน 14 วัน นับแต่วันประชุม
  8. จัดให้มีการทำบัญชีตามประเภทของการประกอบธุรกิจ โดยมีรายละเอียดหลักเกณฑ์ และวิธีการตามที่กฎหมายกำหนด ดังนี้
      1. การจัดทำบัญชี บริษัทต้องจัดให้มีผู้ทำบัญชีที่มีคุณสมบัติตามที่กฎหมายกำหนด ทั้งนี้ บริษัทต้องควบคุมดูแลผู้ทำบัญชีให้จัดทำบัญชีให้ตรงต่อความเป็นจริง และถูกต้องตาม กฎหมายโดยบัญชีของบริษัทต้องแสดงผลการดำเนินงาน ฐานะการเงิน หรือการ เปลี่ยนแปลงฐานะการเงินตามความเป็นจริง และตามมาตรฐานการบัญชี
      2. เริ่มทำบัญชีนับแต่วันที่ได้รับการจดทะเบียนเป็น นิติบุคคลตามกฎหมาย โดยมีชนิดของ บัญชีข้อความและรายการในบัญชี ระยะเวลาในการลงรายการในบัญชี และเอกสาร ประกอบการลงบัญชีตามที่กฎหมายกำหนด
      3. ปิดบัญชีครั้งแรกภายใน 12 เดือน นับแต่วันที่มีหน้าที่จัดทำบัญชี และปิดบัญชีครั้งต่อไป ทุกรอบ 12 เดือนนับแต่วันปิดบัญชีครั้งก่อน และในกรณีบริษัทมีข้อบังคับระบุรอบปีบัญชีไว้ บริษัทจะต้องปิดบัญชีตามข้อบังคับนั้น
      4. จัดทำงบการเงิน โดยมีรายการย่อตามที่อธิบดีประกาศกำหนดโดยความเห็นชอบของ รัฐมนตรีและจัดให้มีผู้สอบบัญชีรับอนุญาตตรวจสอบและแสดงความเห็น
      5. นำส่งงบการเงินภายใน 1 เดือนนับแต่วันที่งบการเงินได้รับอนุมัติจากที่ประชุมใหญ่ผู้ถือหุ้นของ บริษัท การนำส่งงบการเงินของบริษัท ให้ดำเนินการดังนี้
        (5.1) กรณีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร ให้ส่งต่อสำนักบริการข้อมูลธุรกิจ กรมทะเบียนการค้า
        (5.2) กรณีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ในเขตท้องที่จังหวัดอื่น ให้ส่งต่อสำนักงานทะเบียน การค้าจังหวัดนั้น หรือส่งต่อสำนักบริการข้อมูลธุรกิจ กรมทะเบียนการค้า
      6. เก็บรักษาบัญชีและเอกสารประกอบการลงบัญชีไว้ ณ สถานที่ทำการ หรือสถานที่ที่ใช้เป็นที่ทำการผลิตหรือเก็บสินค้าเป็นประจำ หรือสถานที่ที่ใช้เป็นที่ทำงานเป็นประจำ เป็นเวลาไม่น้อยกว่า 5 ปีนับแต่วันปิดบัญชี กรณีที่จำเป็นในการตรวจสอบบัญชี อธิบดีโดยความเห็นชอบของรัฐมนตรีอาจกำหนดให้เก็บรักษาบัญชีไว้เกิน 5 ปีแต่ไม่เกิน 7 ปีก็ได้
  9. การดำเนินการเกี่ยวกับบัญชีและเอกสารประกอบการลงบัญชีที่ต้องขออนุญาตตามกฎหมายก่อน มีดังนี้
    (1) ขออนุญาตเปลี่ยนรอบปีบัญชี
    (2) ขออนุญาตเก็บรักษาบัญชีและเอกสารประกอบการลงบัญชีไว้นอกสถานที่ประกอบธุรกิจ
    (3) แจ้งบัญชีหรือเอกสารประกอบการลงบัญชีสูญหายหรือเสียหาย
  10. การเปลี่ยนแปลงที่บริษัทจำกัดต้องไปจดทะเบียนแก้ไขเพิ่มเติมต่อนายทะเบียน ได้แก่
    (1) การเปลี่ยนแปลงทุนชำระแล้ว (เพิ่มทุน/ลดทุน)
    (2) การเปลี่ยนแปลงข้อบังคับของบริษัท
    (3) การเปลี่ยนแปลงดวงตราของบริษัท
    (4) การเปลี่ยนแปลงกรรมการเข้า/ออก
    (5) การเปลี่ยนแปลงชื่อและจำนวนกรรมการ ซึ่งมีอำนาจลงลายมือชื่อแทนบริษัทและ ข้อจำกัดอำนาจกรรมการ
    (6) การเปลี่ยนแปลงที่ตั้งสำนักงานแห่งใหญ่ และ/หรือสำนักงานสาขา
    (7) การเปลี่ยนแปลงรายการอื่นๆ ที่เห็นสมควรให้ประชาชนทราบ
  11. การเลิกบริษัทจำกัด ต้องไปจดทะเบียนต่อนายทะเบียนเช่นกัน โดยดำเนินการตามขั้นตอน หลักเกณฑ์ และวิธีการตามที่กฎหมายกำหนด จนเสร็จสิ้นการชำระบัญชี และบริษัทจำกัด ต้องไปจดทะเบียนเสร็จการชำระบัญชีต่อนายทะเบียนด้วย จึงจะถือว่าบริษัทจำกัด นั้นเลิกกิจการตามผลของกฎหมายโดยสมบูรณ์ 

ถาม-ตอบ ทุกปัญหาด้านจดทะเบียนธุรกิจ / ขอใบอนุญาตทำงาน / ต่อวีซ่า 

สนทนาสดผ่านทาง    LINE    และ FACEBOOK CKA  ได้แล้ววันนี้

ท่านสามารถรับรู้ข่าวสาร การupdate ส่วนลดบริการด้านต่างๆ

พร้อมโปรโมชั่นอื่นๆอีกมากมาย
    

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น